พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ
ชุดโครงการ : ศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสังคมเนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 250 ปี
ชื่อโครงการ : โครงการการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการศิลปะร่วมสมัยและการมีส่วนร่วมของสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 จนถึงปัจจุบัน (ระยะที่ 2)
ปีงบประมาณ : 2564
ระยะเวลาการดำเนินโครงการ : 1 ต.ค. 2565 - 31 พ.ค. 2566
ที่มาและความสำคัญ :
ในปัจจุบันข้อมูลการวิจัยและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัยของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในวงวิชาการไทยและวงการศิลปะไทยยังมีอยู่จำกัด งานค้นคว้าวิจัยอันเกี่ยวข้องกับการสำรวจองค์ความรู้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงความคลาดแคลนเอกสารภาษาไทยสำหรับนักศึกษา, วงการวิชาการศิลปะ, ตลอดจนวงการศิลปะ ด้วยเหตุนี้ “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการศิลปะร่วมสมัยและการมีส่วนร่วมของสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 จนถึงปัจจุบัน” จึงต้องการที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและพัฒนาการของสังคมในประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ของศิลปะร่วมสมัยกับสังคม, เศรษฐกิจ, การเมือง, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับโลกและในระดับโลก เพื่อสร้างฐานความรู้เชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ อันสามารถนำไปสู่การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและสังคมในเชิงลึกต่อไป
วัตถุประสงค์ :
- 1. เพื่อศึกษาการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของศิลปะร่วมสมัย และการมีส่วนร่วมของสังคมในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ในช่วงระหว่างปลายทศวรรษ 1970 จนถึงต้นทศวรรษ 2000
- เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชนได้รับรู้ว่าศิลปะร่วมสมัยนั้นมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางสังคม, การเมือง, เศรษฐกิจ, วัฒนธรรม, และสภาพแวดล้อม ทั้งยังมีส่วนช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการผลิตความรู้ใหม่แบบสหวิทยาการอย่างสร้างสรรค์
- เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันระหว่างเสรีภาพทางการแสดงออกของศิลปะกับพัฒนาการของภาคประชาสังคมในประเทศไทย ผ่านการเชื่อมโยง วิเคราะห์ เปรียบเทียบกับตัวอย่างอื่น ๆ ในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต่างมีบริบทเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป
- เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักว่าศิลปะร่วมสมัยมีหน้าที่และเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสติปัญญาของประชาชนในชาติ และเสริมสร้างให้ภาครัฐพัฒนานโยบายสนับสนุนในเรื่องศิลปกรรม
- เพื่อพัฒนานโยบายการสะสมผลงานศิลปะและการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ เนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 250 ปี
กรอบคิด/แนวทางการดำเนินงาน :
สืบเนื่องจากโครงการในระยะแรก การดำเนินโครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในระยะที่สองที่นี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบได้แก่
- การสำรวจเอกสารเพื่อสร้างฐานความรู้เกี่ยวกับศิลปะร่วสมัยใหม่ในไทย อันเป็นการดำเนินการสืบเนื่องจากโครงการในระยะแรก โดยใช้การรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือ, บันทึก, จดหมายเหตุ, และสูจิบัตรนิทรรศการ เพื่อสร้างฐานความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของนิทรรศการ ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 จนถึงปัจจุบัน
- การวิจัยภาคสนาม สำหรับสำรวจผลงานศิลปะในพื้นที่สาธารณะ, เยี่ยมชมสตูดิโอศิลปะของศิลปิน, เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์, ตลอดจนการสัมภาษณ์กับศิลปินรวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย เช่น กรุงเทพและปริมณฑล, ในภาคอีสาน (เช่น จังหวัดโคราช, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, อุดรธานี), ภาคเหนือ (เช่น จังหวัดน่าน, เชียงใหม่, เชียงราย) ภาคใต้ (เช่น จังหวัดสงขลา, ปัตตานี, นราธิวาส, กระบี่, พังงา, สงขลา)
- โครงการวิจัยยังจะดำเนินการทำงานร่วมกับผู้ออกแบบฐานข้อมูลดิจิทัลเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล, และเมทาดาทา (metadata) เพื่อใรองรับการพัฒนาและออกแบบฐานข้อมูลประวัติศาสตร์ศิลปะ, นิทรรศการศิลปะ, และผลงานศิลปกรรมของพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ เนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 250 ปี ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
หัวข้อ/ประเด็น/โจทย์/และขอบเขต :
ศึกษานิทรรศการศิลปะร่วมสมัย ทั้งในรูปแบบของ โครงการศิลปะ กิจกรรมทางศิลปะ ตลอดจนผลงานศิลปะ ของศิลปิน ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้บริบทของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะนานาชาติ ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 ถึงต้นทศวรรษ 2000 โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะร่วมสมัยอันเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของสังคม อันเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางสังคม เช่น ประเด็นทางการเมือง, วัฒนธรรม, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, และสิ่งแวดล้อม
ผลผลิต/ผลลัพธ์/ผลกระทบ :
- รายงานวิจัย ปีที่ 1 ระยะที่ 2 เรื่อง “การศึกษานิทรรศการศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทยภายใต้บริบทของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะนานาชาติ ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ถึงปัจจุบัน”
- ชุดข้อมูลระยะที่ 2 เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลสำหรับโครงการวิจัยในระยะต่อไป
- ต้นแบบ (Prototype) ฐานข้อมูล
แหล่งทุน :
สนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สถานะโครงการ : สิ้นสุดโครงการ (end of the project)
คณะทำงาน :
- อาจารย์ ดร. วิภาช ภูริชานนท์ / หัวหน้าโครงการ
- อาจารย์ กษมาพร แสงสุระธรรม / นักวิจัย