วิจัยและเรียนรู้

โครงการพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ชุดโครงการ :

ชื่อโครงการ : โครงการพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม ระยะที่ 1

ปีงบประมาณ : 2564

ระยะเวลาการดำเนินโครงการ : 1 ก.ค. 2564 - 31 ธ.ค. 2564

ที่มาและความสำคัญ :

ปัจจุบันการแม้จะมีงานวิจัยจำนวนมากที่ค้นพบว่า การพัฒนาทุนมนุษย์ของไทยคือกุญแจสู่เศรษฐกิจเติบโตสูงในระยะยาวและลดความเหลื่อมล้ำ และการพัฒนาทุนมนุษย์ที่เริ่มตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้เด็กได้พัฒนา Executive Function (EF) หรือการคิดเชิงบริหาร เปรียบเสมือนการสร้างรากฐานอันมั่นคงแข็งแรงก่อนที่เด็กจะสามารถใช้ทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตเมื่อโตขึ้น วิธีการแบบหนึ่งที่นิยมให้ในการพัฒนา EF ของเด็ก คือ กิจกรรมด้านศิลปะ เพราะกิจกรรมทางศิลปะเป็นการเรียนรู้ทางสุนทรียศาสตร์ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและจิตวิญญาณ ในต่างประเทศจะพบการพัฒนาเด็กแบบบูรณาการทั้ง 4 ด้าน โดยการเรียนรู้ตามอัธยาศัยผ่านพิพิธภัณฑ์ทั้งหลาย เด็กจะใช้เวลาว่างในพิพิธภัณฑ์เพื่อเลือกทำกิจกรรมตามความต้องการของตนเอง พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบัน และมีความหลากหลายเพียงพอที่จะช่วยตอบสนองความต้องการเพื่อพัฒนาเด็กต่อไปในอนาคต สำหรับในประเทศไทยนั้น ด้วยจำนวนพิพิธภัณฑ์และพื้นที่การเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีจำกัด อาจทำให้การพัฒนาเด็กที่สามารถสร้างให้เด็กเห็นความเชื่อมโยงจากอดีตสู่ปัจจุบันและมุ่งหน้าสู่อนาคตเป็นไปอย่างจำกัด การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการค้นหา ความสำคัญของพื้นที่เรียนรู้ของเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าศิลปกรรมในพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Living Museum) ศึกษารูปแบบการสร้างและการพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม และศึกษาแนวทางการจัดพื้นที่เรียนรู้ของเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์ เสริมสร้างคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตัวเด็กผ่านการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์มีชีวิต เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นมนุษย์สมบูรณ์และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคมต่อไป

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัย รวมถึงสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม
  2. เพื่อวางกรอบแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม มุ่งเน้นให้เกิดพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Living Museum) สำหรับเด็กที่มีลักษณะการเรียนรู้แบบปกติ (Regular Child) และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Child with Special Need) เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการวิจัยในระยะต่อไป

กรอบคิด/แนวทางการดำเนินงาน :

การศึกษานี้นี้จึงมุ่งเน้นการค้นหาความสำคัญของพื้นที่เรียนรู้ของเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าศิลปกรรม เป็นการศึกษารูปแบบการสร้างและการพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม และศึกษาแนวทางการจัดพื้นที่เรียนรู้ของเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์ เสริมสร้างคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตัวเด็กผ่านการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์มีชีวิต เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นมนุษย์สมบูรณ์และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคมต่อไป

หัวข้อ/ประเด็น/โจทย์/และขอบเขต :

การดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่เรียนรู้ของเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม ผ่านวรรณกรรม งานวิจัย และสำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) ใน 4 มิติ ได้แก่

  • มิติที่ 1 ศึกษาประเด็นเกี่ยวกับศิลปกรรมและการสร้างคุณค่าความเป็นมนุษย์ เพื่อให้เห็นว่าศิลปกรรมมีส่วนอย่างไรในการสร้างคุณค่าความเป็นมนุษย์
  • มิติที่ 2 ศึกษาการพัฒนาเด็กและการพัฒนาทุนมนุษย์ทั้งในแง่ของเด็กที่มีการเรียนรู้แบบปกติ (Regular Child) และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Child with Special Need) เพื่อให้ทราบถึงลักษณะและหลักการเรียนรู้ของเด็กแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะต่อยอดสู่การศึกษาเพื่อออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็กต่อไป
  • มิติที่ 3 ศึกษาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์มีชีวิต เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของพิพิธภัณฑ์มีชีวิต
  • มิติที่ 4 ศึกษาลักษณะการจัดพื้นที่การเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ

ผลผลิต/ผลลัพธ์/ผลกระทบ :

  1. ฐานข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดพื้นที่เรียนรู้ของเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม
  2. กรอบแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดพื้นที่เรียนรู้ของเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรมที่มุ่งเน้นให้เกิดพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Living Museum) ที่มีความเหมาะสมสำหรับเด็กที่มีลักษณะการเรียนรู้แบบปกติ (Regular Child) และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Child with Special Need)

พื้นที่ดำเนินการวิจัย/พื้นที่ได้รับประโยชน์ :

พื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนในพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์ :

  1. เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี และเยาวชนอายุ 13-18 ปี ทั้งกลุ่มที่มีลักษณะการเรียนรู้แบบปกติ (Regular Child) และกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ (Child with Special Need)
  2. ผู้สนใจเกี่ยวกับพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนในพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแหงชาติ และประชาชนทั่วไป

Youtube : ช่อง Youtube ของโครงการ

คณะทำงาน :

  • อาจารย์ ดร. สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน / หัวหน้าโครงการ