วิจัยและเรียนรู้

แผนงานพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ /แผนงานสร้างผลกระทบสูง (High Impact)

ชุดโครงการ : โครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์

ชื่อโครงการ : โครงการวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน

ปีงบประมาณ : 2564

ระยะเวลาการดำเนินโครงการ : 1 ก.ค. 2565 - 31 ธ.ค. 2565

ที่มาและความสำคัญ :

มหาวิทยาลัยพะเยา มีพันธกิจด้านที่ 4 คือ ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม จึงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อความเป็นไทยและเอกลักษณ์ของชาติ เป็น
เป้าหมายหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดพะเยา ตามแนวทางพัฒนาของ Area Based University โดยมีการบูรณาการร่วมกับพันธกิจอื่นๆ ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ อย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้การพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่ง (Reinventing University)เป้าประสงค์ที่สำคัญของยุทธศาสตร์ที่ 4 ได้แก่ การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อจะได้นำทุนวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้ (Tangible culture) และจับต้องไม่ได้ (Intangible culture) ที่มีคุณค่า นำมารวบรวมเป็นองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมของจังหวัดพะเยา และเพิ่มมูลค่าด้วยการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ภายใต้กรอบแนวคิด มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่


จังหวัดพะเยา เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยพะเยา มีประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนมาถึงปัจจุบัน อายุกว่า 900 ปี มีผู้คนจากชาติพันธุ์หลากหลายที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ด้วยอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูเขา ป่าไม้ แหล่งน้ำ และที่ราบเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม จึงส่งผลให้จังหวัดพะเยามีทุนทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย ทั้งที่จับต้องได้ (Tangible culture) อาทิ โบราณวัตถุหินทราย ศิลปะล้านนา สกุลช่างพะเยา โบราณสถาน แหล่งโบราณคดี และจับต้องไม่ได้ (Intangible culture) ความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณีท้องถิ่น ดนตรีและการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ มีความเป็นอัตลักษณ์ที่แสดงถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในแบบของตนเอง ในขณะเดียวกันทุนทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าเหล่านี้ยังไม่ได้รับการรวบรวมองค์ความรู้ หรือต่อยอดตามแนวคิดวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเป็นเพิ่มมูลค่าให้กับทุนทางวัฒนธรรม


งานวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวดนตรีและการละเล่นชาติพันธุ์ไทลื้อเชียงคำ

(รัตนะ ตาแปง, 2560) ผลการวิจัยพบว่า ชาติพันธุ์ไทลื้อมนอำเภอเชียงคำ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเข้มแข็งทางด้านวัฒนธรรมสะท้อนออกมาทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ทั้งการกินและความเป็นอยู่ วัฒนธรรมที่เด่นชัดมาก คือ การแต่งกายของชาติพันธุ์ไทลื้อ โดยเฉพาะความเป็นลื้อเชียงคำ นอกจากการแต่งกายแล้วยังส่งผลถึงวัฒนธรรมทางด้านศิลปะการแสดงที่ต่างอนุรักษ์สิ่งที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดให้แก่ชนรุ่นหลังสืบต่อกันมา โดยเฉพาะทางด้านดนตรีของชาติพันธุ์อันได้แก่ การตีกลองปู่จา การขับลื้อ การตีกลองแอว การตีกลองมองเซิง ประกอบกับลีลาท่วงท่าทางด้านการแสดง เช่น การฟ้อนนก การฟ้อนเชิง


การตีกลองปู่จาของชาวไทลื้อเชียงคำจะมีเอกลักษณ์ของแต่ละหมู่บ้านหรือวัดที่สืบทอดกันต่อ ๆ มา เพราะคนที่ตีกลองปู่จามักเป็นคนที่ผ่านการบวชเรียนอยู่ในวัดนั้น ๆ มาก่อน ลักษณะการตีกลองปู่จามี 2 ทำนอง คือ ทำนองปู่จา และทำนองสะบัดชัย โดยทำนองปู่จามีจังหวะที่ช้าแต่ไพเราะปรกอบกับฆ้องและฉาบเป็นเครื่องดนตรีประกอบ การตีกลองทำนองสะบัดชัยมีจังหวะที่เร็วขึ้นแต่เน้นการตีกลองใบใหญ่สลับกับกลองลูกตุ๊บ

นอกจากนั้นยังมีกลองแอวซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกลองยาวของภาคกลางตีประกอบฉาบและโหม่งใช้ประกอบการแสดงฟ้อนดาบฟ้อนเชิง กลองมองเซิงของไทลื้อเชียงคำเป็นกลองสองหน้าใช้การนั่งตีประกอบการแสดงฟ้อนนกการฟ้อนดาบหรือการแห่ประโคมการแสดงต่าง ๆ

การขับลื้อ ถือเป็นการแสดงที่บ่งบอกความเป็นไทลื้อมากที่สุดเพราะการขับดังกล่าวใช้ทั้งวรรณศิลป์และคีตศิลป์ประกอบการแสดง การขับลื้อแสดงในโอกาสต่าง ๆ ทั้งงานมงคล และงานอวมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงเทวดา หรือ ผีบรรพบุรุษของชาวไทลื้อที่นับถือกันมาตั้งแต่เมืองสิบสองปันนา ในการขับลื้อจะมีช่างขับ ประกอบการแสดงเข้ากับปี่ลื้อ ซึ่งปี่ลื้อมีอยู่ 2 แบบ คือ ปี่แม่ และปี่ปู้ นอกจากนั้นการขับลื้อยังสามารถใช้สำหรับการขับเหยาะสาว หรือการเกี่ยวสาวของหนุ่มสาวในสมัยโบราณอีกด้วย ปัจจุบันการขับลื้อดังกล่าวหาดูได้ยากนอกจากการดูในงานเทศกาลต่าง ๆ ที่รัฐและชุมชนร่วมกันจัดขึ้น


การจัดงานของภาครัฐให้กับชาวไทลื้อ ไม่ว่าเป็นงาน 8 ชาติพันธุ์เมืองพะเยา งานไทลื้อโลกที่ถือว่าเป็นงานสำคัญในการรวมตัวของชาวไทลื้อจากสิบสองพันนาเมืองแม่ จากประเทศพม่า และจากสารธารณรัฐประชาชนลาว ถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการรื้อฟื้นทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชาวไทลื้อให้กลับคืนมาอีกครั้ง แม้ว่าการรื้อฟื้นดังกล่าวจะเป็นเพียงการจำลองสถานภาพและเหตุการณ์ของชาวไทลื้อขึ้นมา แต่เป็นการปลูกจิตสำนึกรักและภูมิใจในความเป็นไทลื้อให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อขึ้นมาอีกครั้ง และส่งผลถึงการอุตสาหกรรมในครัวเรือนได้แก่อุตสาหกรรมผ้าทอของชาวไทลื้อให้ได้รับความนิยมและกลับฟื้นขึ้นได้อีกครั้ง ควรมีการศึกษาเชิงลึก ได้แก่ การขับโอ้ง ส่วนการขับลื้อที่ควรศึกษาและจัดทำโครงการของการขับลื้อให้ชัดเจน หรือจัดการถอดองค์ความรู้ทางด้านภาษา ดนตรี ร่วมกันเพื่อที่จะสร้างเครื่องมือในการถ่ายทอดให้กับเยาวชนรุ่นหลังได้สืบทอดศิลปะการแสดงเหล่านี้ นอกจากนั้นด้านการทำปี่ลื้อ ควรมีการศึกษาและส่งเสริมให้เกิดช่างฝีมือทำปี่ขับลื้อเพื่อสนองต่อความต้องการของนักแสดงทั้งคนเป่าปี่ลื้อและช่างขับ ซึ่งส่งผลถึงการปลูกต้นไผ่ที่เรียกว่า หน่อขม ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของชาวไทลื้อในสิบสองปันนา แล้วนำไม้ไผ่นั้นมาทำเป็นปี่ลื้อต่อไป

ดังนั้น มหาวิทยาลัยพะเยา จึงมีความสนใจที่จะรวบรวบข้อมูลของประวัติศาสตร์ดนตรีท้องถิ่น ศิลปินท้องถิ่น วงดนตรีท้องถิ่นของจังหวัดพะเยา บทเพลงที่แต่งขึ้นมาหลายยุคสมัย ที่บอกเล่าถึงความเป็นจังหวัดพะเยาตามบริบทของสังคมและวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นบทเพลงและวงดนตรีพื้นเมือง หรือดนตรีสากล นำเรียบเรียงเป็นทำนองเพลงแบบร่วมสมัย และเผยแพร่ให้กับเยาวชน ประชาชน และที่ผู้สนใจ โดยมหาวิทยาลัยพะเยาร่วมกับภาคีเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย และภาคีเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อจัดกิจกรรมดุริยศิลป์ถิ่นพยาว : นบบูชาพญางำเมือง ภายใต้โครงการ วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการนำทุนทางวัฒนธรรมด้านดนตรีพื้นเมืองของจังหวัดพะเยาที่มีคุณค่า มาต่อยอดผสมผสานกับดนตรีสากล นำเสนอการแสดงดนตรีที่มีอัตลักษณ์และบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์และภูมิวัฒนธรรมของเมืองพะเยา ทำให้เกิดวัตกรรมดนตรีพื้นเมืองและศิลปะการแสดงร่วมสมัยของจังหวัดพะเยา อีกทั้งเป็นการยกระดับกิจกรรมทางวัฒนธรรมพื้นเมืองของพะเยา พัฒนาสู่ความเป็นสากลต่อไป

วัตถุประสงค์ :

1) เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับดนตรีพื้นเมืองของจังหวัดพะเยา

2) เพื่อเป็นการยกระดับกิจกรรมทางวัฒนธรรมพื้นเมืองของพะเยาสู่ความเป็นสากล


กรอบคิด/แนวทางการดำเนินงาน :

การวิจัยวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนขึ้น ครั้งนี้วัตถุประสงค์ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการนำทุนทางวัฒนธรรมด้านดนตรีพื้นเมืองของจังหวัดพะเยาที่มีคุณค่า มาต่อยอดผสมผสานกับดนตรีสากล นำเสนอการแสดงดนตรีที่มีอัตลักษณ์และบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์และภูมิวัฒนธรรมของเมืองพะเยา ทำให้เกิดวัตกรรมดนตรีพื้นเมืองและศิลปะการแสดงร่วมสมัยของจังหวัดพะเยา อีกทั้งเป็นการยกระดับกิจกรรมทางวัฒนธรรมพื้นเมืองของพะเยา พัฒนาสู่ความเป็นสากลต่อไป ตามกรอบแนวคิดการวิจัยดังต่อไปนี้


การวิจัยวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับดนตรีพื้นเมืองของจังหวัดพะเยา และเพื่อเป็นการยกระดับกิจกรรมทางวัฒนธรรมพื้นเมืองของพะเยาสู่ความเป็นสากล เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยผู้วิจัยได้จำแนกการดำเนินการวิจัยในแต่ละวัตถุประสงค์


หัวข้อ/ประเด็น/โจทย์/และขอบเขต :

1) ประวัติศาสตร์ดนตรีพื้นเมือง ดนตรีไทย ดนตรีสากล และบทเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับจังหวัดพะเยา

2) ศิลปินด้านศิลปะการแสดง ปราชญ์ท้องถิ่น ร่วมออกแบบการ แสดงศิลปะแบบร่วมสมัย โดยใช้ดนตรีผสมผสานดนตรีพื้นบ้านกับดนตรีสากล

3) นิทรรศการและเสวนาทางวิชาการ : ดุริยศิลป์ถิ่นพยาว : ไหว้สาพญางำเมืองภายใต้โครงการวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนขึ้นเพื่อเสนอแนวทางเป็นโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับดนตรีพื้นเมืองของจังหวัดพะเยา

ผลผลิต/ผลลัพธ์/ผลกระทบ :


Output

Outcome

Impact


หมายเหตุ

1) องค์ความรู้

เรื่อง : 

การสร้างสรรค์การแสดงล้านนาร่วมสมัย 



1)  แนวทางการดำเนินงานของหลักสูตร และชมรม ร่วมกัน สร้างเอกลักษณ์ความเป็นล้านนาของ จ. พะเยา  โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ และชมรมข่วงศิลป์ มหาวิทยาลัยพะเยา


1) องค์ความรู้ใหม่จากการศึกษา และสร้างรูปแบบการแสดงล้านนาร่วมสมัยของมหาวิทยาลัยพะเยา


2) นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนการแสดงล้านนาร่วมสมัย



2) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยพะเยา  มีการบูรณาการร่วมกับทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัยพะเยา


แผนยุทธศาสตร์ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 20 ปี ของมหาวิทยาลัยพะเยา


3) บูรณาการร่วมกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐที่หน้าที่เกี่ยวกับด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ สนงวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา สนง.ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพะเยา  ททท.สนง.เชียงราย อบจ.พะเยา ทม.พะเยา

เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดพะเยา 20 ปี

(2566-2585)


2) ฐานข้อมูล










ฐานข้อมูล จำนวน  4 ชุด

สารสนเทศที่เป็นรวบรวมคลังข้อมูลด้านศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยพะเยา


ฐานข้อมูล/เว็บไซต์/YouTube/อื่น ๆ ได้แก่
1)You Tube 

   ช่อง UP – Channel
2) เพจ Face Book ดนตรีและนาฏศิลป์ 

ม.พะเยา
3)  เพจ Face Book ชมรมข่วงศิลป์ มหาวิทยาลัยพะเยา

4) www.safa.up.ac.th



3) การพัฒนานักวิจัย

ด้านศิลปะและวัฒนธรรมจำนวน 5 คน


นักวิจัย/นักวิชาการ ด้าน กระบวนการสร้างการแสดงล้านนาร่วมสมัย แก่อาจารย์และนิสิตทางด้านดนตรีสากล ดนตรีพื้นบ้านล้านนา ดนตรีไทย  และทางด้านนาฏศิลป์  

ผลงานทางวิชาการ /บทความวิชาการ



สร้างชุมชน ให้เป็น

นวัตกรวัฒนธรรมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้าน การสร้างงานล้านนาร่วมสมัย



4) ภาคีเครือข่าย ภาครัฐและเอกชน 

  1. จังหวัดพะเยา
  2. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา
  3. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพะเยา 
  4. เครือข่ายศิลปินขับลื้อจังหวัดพะเยา 
  5. เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อจังหวัดพะเยา  
  6. ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม (ภาคเอกชน) 


การทำ MOU ร่วมกับภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยทุนทางวัฒนธรรม เพื่อให้เป็น Cultural Learning Space ของจังหวัดพะเยา


5) การสร้างประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลกระทบสูง (มูลค่า)


1) เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ พัฒนา และต่อยอด โดยการบูรณาการเรียนการสอนกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการมีส่วนร่วมของศิลปินพื้นบ้าน ชุมชน และกลุ่มเยาวชน ของ จ.พะเยา ตัวอย่าง กลุ่มช่างขับลื้อเชียงคำ พัฒนารูปแบบการแสดงร่วมกับหลักสูตรทำให้มีรายได้ในการแสดงเพิ่มมากขึ้นและรับงานแสดงอย่างต่อเนื่อง
2) การสร้างมูลค่าจากกิจกรรมทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม และชมรมข่วงศิลป์ ม.พะเยา 


ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยทุนทางศิลปะและวัฒนธรรม


6) ผลงานศิลปกรรม

(การแสดงล้านนาร่วมสมัย) 


ศิลปินพื้นบ้าน ได้แนวคิดในการสร้างสรรค์งานโดยเฉพาะการขับลื้อที่ยกระดับจากการขับลื้อแบบดั้งเดิมสู่การร่วมสมัยกับดนตรีพื้นบ้านล้านนา สร้างสรรค์ท่าฟ้อนเข้ากับการขับลื้อ สร้างเป็นแนวคิด “การขับลื้อร่วมสมัย”


โมเดลการสร้างสรรค์งานจากระบบการศึกษาสู่ศิลปินพื้นบ้าน ศิลปินพื้นบ้านสู่แนวทางการศึกษาในระบบ ให้เกิดความเป็นร่วมสมัยของมหาวิทยาลัยพะเยา และกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อจังหวัดพะเยา





โมเดลการทำงานจากห้องเรียนสู่ชุมชน โดยการนำเอาทุนทางวัฒนธรรมด้านดนตรี นาฏศิลป์ มาสร้างงานร่วมสมัย เพื่อตอบโจทย์ในการทำงานศิลปวัฒนธรรมรับใช้สังคมอย่างแท้จริง





สร้างพื้นที่เรียนรู้วัฒนธรรม ( Cultural Learning Space) ด้าน่ดนตรีและนาฏศิลป์ของจังหวัดพะเยา


พื้นที่ดำเนินการวิจัย/พื้นที่ได้รับประโยชน์ :

อำเภอเมืองพะเยา อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์ :

1) ศิลปินพื้นบ้าน หรือชาติพันธุ์ในอำเภอเมืองพะเยา และอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

2) นิสิตของมหาวิทยาลัยพะเยา

3) นักศึกษาสถาบันการศึกษาในจังหวัดพะเยา (วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี พะเยา)

4) นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา

แหล่งทุน :

สนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

สถานะโครงการ : สิ้นสุดโครงการ (end of the project)

Website : เว็บไซต์จัดเก็บข้อมูลโครงการ
Facebook : Facebook ของโครงการ
Youtube : ช่อง Youtube ของโครงการ
แหล่งจัดเก็บข้อมูล : แหล่งจัดเก็บข้อมูลโครงการ

คณะทำงาน :

  • รองศาสตราจารย์ ดร. สุภกร พงศบางโพธิ์  / หัวหน้าโครงการ